15 กุมภาพันธ์ 2558

วัดฉลอง

วัดฉลอง หรือชื่อที่เรียกเป็นทางการ ก็คือ วัดไชยธาราม เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองที่มีชื่อเสียงของภูเก็ต  ถ้าใครมา ภูเก็ตจะต้องมาแวะนมัสการ หลวงพ่อแช่ม แห่งวัดฉลอง เพื่อเป็นสิริมงคลแต่ตัวเอง  เรื่องราวความศักดิ์สิทธิ์ กิตติศัพท์ในการรักษาโรค บุญญาบารมีและเมตตาธรรมที่สูงส่งของหลวงพ่อทำให้มีผู้เลื่อมใสศรัทธาเป็นอันมาก เล่ากันว่าในขณะที่ท่านมีชีวิตอยู่นั้นถึงกับมีผู้ที่รอปิดทองตามแขนและขาของท่านจนแลดูเหลืองอร่าม ไปทั่วราว กับปิดทองพระพุทธรูปและแม้ว่าหลวงพ่อแช่มจะมรณภาพเป็นเวลานับหนึ่งร้อยปีมาแล้วก็ตาม ชื่อเสียงเกียรติคุณ และบารมีของท่านก็อยู่ในความทรงจำของผู้คนสืบมา
วัดฉลอง ภูเก็ต
อีกทั้งที่วัดฉลองแห่งนี้ยังเป็นที่ตั้งของ พระมหาธาตุเจดีย์พระจอมไทยบารมี ประกาศเป็นที่ประดิษฐสถานของ พระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้าที่นำมาจากศรีลังกา วัดฉลองแห่งนี้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวใน ภูเก็ตอีกแห่งที่ ใครๆ ที่มาเที่ยวภูเก็ตจะต้องมาวัดแห่งนี้
1. นมัสการหลวงพ่อแช่ม วัดฉลอง
เป็นที่รู้จักกันทั่วไป ซึ่งมีเรื่องรวมถึงความศักดิ์สิทธิ์ คุณงามความดีของหลวงพ่อแช่มแห่งวัดฉลอง เป็นที่พึ่งให้ แก่ชาวบ้าน ในครั้นการต่อสู้กับพวกอั้งยี่ และเรื่องเล่าเกี่ยวกับไม้เท้าของท่านที่จิ้มบริเวณที่เป็นไฝ หรือปาน จะทำ ให้จางไปเอง ( เป็นความเชื่อของแต่ละบุคคล )  นอกจากหลวงพ่อแช่มแล้วยังมีหลวงพ่อช่วง และหลวงพ่อเกลื้อม ซึ่งเป็นที่เคราพศรัทธาของชาวบ้านมาก ซึ่งท่านทั้งสองมีชื่อเสียงการปรุงสมุนไพร และรักษาโรค ถึงแม้ว่าปัจจุบัน ท่านจะมรณภาพไปแล้ว แต่ก็ยังมีชาวบ้านที่มีเรื่องทุกข์ร้อน ก็จะไปกราบไหว้ บนบานไม่ขาดสาย ปัจจุบันนี้ได้ ประดิษฐานองค์ท่านทั้งสามที่วิหารที่สร้างอย่างสวยงาม ซึ่งในแต่ละวันจะมีผู้คนทั้งชาวไทย และต่างชาติ ต่างมา กราบไหว้เป็นจำนวนมาก
วัดฉลอง ภูเก็ตวัดฉลอง ภูเก็ต
วัดฉลอง ภูเก็ตวัดฉลอง ภูเก็ต
2. พระมหาเจดีย์ พระจอมไท
พระมหาเจดีย์ พระจอมไท เป็นเจดีย์ที่สร้างเสร็จสมบูรณ์เมื่อไม่นาน ซึ่งตั้งอยู่ทางด้านหลังของวัด ภายในเงียบสงบ บริเวณชั้นแรกจะเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปรางค์ต่าง ๆ มากมาย และบริเวณด้านข้างผนัง จะเป็นภาพวาดพุทธประวัติของพระพุทธเจ้า ตอนประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพาน ที่งดงามมาก เมื่อขึ้นไปด้านบนสุดจะเป็นที่ประดิษฐานของพระบรมสารีริกธาตุ และด้านนอกของเจดีย์ สามารถที่จะชมทิวทัศน์ของบริเวณในวัดทั้งหมดได้อย่างสวยงาม
วัดฉลอง ภูเก็ตวัดฉลอง ภูเก็ต
วัดฉลอง ภูเก็ตวัดฉลอง ภูเก็ต
3. ท่านเจ้าวัด
ท่านเจ้าวัดคือพระประธานในวิหารเก่าแก่ อันเป็นที่ตั้งของวัดฉลองแต่โบราณ ก่อนย้ายออกมาตั้งอยู่ในที่ปัจจุบัน ซึ่งด้านซ้ายจะมีรูปหล่อของชายชรานั่งถือตะบันหมาก ชาวบ้านเรียกว่า " ตาขี้เหล็ก " ด้านขวามีรูปหล่อเป็นยักษ์ เรียกว่า " นนทรีย์ "
4.กุฎิจำลองหลวงพ่อท่าน
ภายในกุฎิจำลองทางวัดได้จัดทำหุ่นขี้ผึ้งจำลอง หลวงพ่อแช่ม หลวงพ่อช่วง หลวงพ่อเกลี้อม และเครื่องใช้ต่าง ๆ ของทั้งสามองค์ และตัวกุฎิยังเป็นแบบทรงไทย ซึ่งเป็นเรือนไทยที่สวยงามมาก นอกจากนั้นเมื่อท่านได้เข้าไปในบริเวณวัดส่งหนึ่งที่ท่านจะได้ยินคือเสียงปะทัด เพราะเมื่อมีผู้คนที่ทุกข์ร้อนมาขอให้พ่อท่านช่วย และเมื่อได้สมความปราณีตามที่ได้ขอ โดยมากจะมาแก้บนด้วยการจุดปะทัดให้ท่าน
"หลวงพ่อแช่ม" วัดฉลอง ท่านเกิดที่ตำบลบ่อแสน อำเภอทับปุด จังหวัดพังงา เมื่อปีกุน พุทธศักราช 2370 ในรัชสมัยของ"พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว"(รัชกาลที่ 3) (นามโยมบิดา-มารดา) ไม่ปรากฏในประวัติแม้ แต่ "หลวงพ่อช่วง" วัดท่าฉลอง ศิษย์เอกของท่านก็ไม่สามารถให้รายละเอียดได้) พ่อแม่ส่งให้อยู่ ณ วัดฉลอง เป็นศิษย์ ของ พ่อท่านเฒ่าตั้งแต่เล็ก เมื่อมีอายุพอจะบวชได้ก็บวชเป็นสามเณร และ ต่อมาเมื่ออายุถึงที่จะ บวช เป็นพระภิกษุก็บวชเป็นพระภิกษุจำพรรษาอยู่ ณ วัดฉลองนี้หลวงพ่อแช่มได้ศึกษาวิปัสนาธุระ จากพ่อท่านเฒ่าจน เป็นผู้ที่เชี่ยวชาญทางวิปัสนาธุระเป็นอย่างสูง ความมีชื่อเสียงของหลวงพ่อแช่มปรากฏชัด ในคราวที่หลวงพ่อแช่ม เป็นหัวหน้าปราบอั้งยี่ ซึ่งท่านจะได้ทราบต่อไปนี้
ปราบอั้งยี่
        ในปีพุทธศักราช 2419 กรรมกรเหมืองแร่เป็นจำนวนหมื่น ในจังหวัดภูเก็ต และจังหวัดใกล้เคียงได้ซ่องสุม ผู้คน ก่อตั้งเป็นคณะขึ้นเรียกว่า อั้งยี่ โดยเฉพาะพวกอั้งยี่ในจังหวัดภูเก็ตก่อเหตุวุ่นวายถึงขนาดจะเข้า ยึดการ ปกครอง ของจังหวัดเป็นของพวกตน ทางราชการในสมัยนั้นไม่อาจปราบให้สงบราบคาบได้ พวกอั้งยี่ถืออาวุธ รุกไล่ ยิง ฟันชาวบ้านล้มตายลงเป็นจำนวนมากชาวบ้านไม่อาจต่อสู้ป้องกันตนเองและทรัพย์สิน ที่รอดชีวิตก็หนี เข้าป่าไป เฉพาะในตำบลฉลองชาวบ้านได้หลบหนีเข้าป่า เข้าวัด ทิ้งบ้านเรือนปล่อยให้พวกอั้งยี่เผาบ้านเรือน หมู่บ้านซึ่งพวกอั้งยี่เผา ได้ชื่อว่า บ้านไฟไหม้ จนกระทั่งบัดนี้
         ชาวบ้านที่หลบหนีเข้ามาในวัดฉลอง เมื่อพวกอั้งยี่รุกไล่ใกล้วัดเข้ามา ต่างก็เข้าไปแจ้งให้หลวงพ่อแช่ม ทราบ และนิมนต์ให้หลวงพ่อแช่ม หลบหนีออกจากวัดฉลองไปด้วย หลวงพ่อแช่มไม่ยอมหนี ท่านว่า ท่านอยู่ที่ วัดนี้ตั้งแต่เด็กจนบวชเป็นพระ และเป็นเจ้าวัดอยู่ขณะนี้ จะให้หนีทิ้งวัดไปได้อย่างไร
         เมื่อหลวงพ่อแช่มไม่ยอมหนีทิ้งวัด ชาวบ้านต่างก็แจ้งหลวงพ่อแช่มว่า เมื่อท่านไม่หนีพวกเขาก็ไม่หนี จะขอสู้มันละ พ่อท่านมีอะไรเป็นเครื่องคุ้มกันตัวขอให้ทำให้ด้วย หลวงพ่อแช่มจึงทำผ้าประเจียดแจกโพกศีรษะ คนละผืนเมื่อได้ของคุ้มกันคนไทยชาวบ้านฉลองก็ออกไปชักชวนคนอื่นๆ ที่หลบหนีไปอยู่ตามป่า กลับมารวม พวกกัน อยู่ในวัด หาอาวุธ ปืน มีด เตรียมต่อสู้กับพวกอั้งยี่
        พวกอั้งยี่ เที่ยวรุกไล่ฆ่าฟันชาวบ้าน ไม่มีใครต่อสู้ก็จะชะล่าใจ ประมาทรุกไล่ฆ่าชาวบ้านมาถึงวัดฉลอง ชาวบ้านซึ่งได้รับผ้าประเจียดจากหลวงพ่อแช่มโพกศีรษะไว้ก็ออกต่อต้านพวกอั้งยี่ พวกอั้งยี่ไม่สามารถทำร้าย ชาวบ้านก็ถูกชาวบ้านไล่ฆ่าฟันแตกหนีไป ครั้งนี้เป็นชัยชนะครั้งแรกของไทยชาวบ้านฉลอง ข่าวชนะศึกครั้งแรก ของชาวบ้านฉลอง รู้ถึงชาวบ้านที่หลบหนีไปอยู่ที่อื่น ต่างพากลับมายังวัดฉลอง รับอาสาว่า ถ้าพวกอั้งยี่มารบอีก ก็จะต่อสู้ ขอให้หลวงพ่อแช่มจัดเครื่องคุ้มครองตัวให้ หลวงพ่อแช่มก็ทำผ้าประเจียดแจกจ่ายให้คนละผืน พร้อม กับแจ้งแก่ชาวบ้านว่า "ข้าเป็นพระสงฆ์จะรบราฆ่าฟันกับใครไม่ได้ พวกสูจะรบก็คิดอ่านกันเอาเอง ข้าจะทำเครื่อง คุณพระให้ไว้สำหรับป้องกันตัวเท่านั้น" ชาวบ้านเอาผ้าประเจียดซึ่งหลวงพ่อแช่มทำให้โพก ศีรษะเป็นเครื่องหมาย บอกต่อต้านพวกอั้งยี่
        พวกอั้งยี่ให้ฉายาคนไทยชาวบ้านฉลองว่า พวกหัวขาว ยกพวกมาโจมตีคนไทยชาวบ้านฉลองหลายครั้ง ชาวบ้านถือเอากำแพงพระอุโบสถเป็นแนวป้องกัน อั้งยี่ไม่สามารถตีฝ่าเข้ามาได้ ภายหลังจัดเป็นกองทัพเป็น จำนวนพัน ตั้งแม่ทัพ นายกอง มีธงรบ ม้าล่อ เป็นเครื่องประโคมขณะรบกัน ยกทัพเข้าล้อมรอบกำแพงพระอุโบสถ ยิงปืน พุ่งแหลน พุ่งอีโต้ เข้ามาที่กำแพง เป็นที่น่าอัศจรรย์ที่บรรดาชาวบ้านซึ่งได้เครื่องคุ้มกันตัวจากหลวงพ่อ แช่มต่างก็แคล้วคลาดไม่ถูกอาวุธของพวกอั้งยี่เลย
         คณะกรรมการเมืองภูเก็ต ได้ทำรายงานกราบทูลไปยังพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระ กรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้คณะกรรมการเมืองนิมนต์หลวงพ่อแช่ม ให้เดินทางไปยังกรุงเทพมหานคร มีพระประสงค์ทรงปฏิสันฐานกับหลวงพ่อแช่มด้วยพระองค์เอง หลวงพ่อแช่มและคณะเดินทาง ถึงกรุงเทพ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานสมฌศักดิ์หลวงพ่อแช่ม เป็นพระครูวิสุทธิวงศาจารย์ญานมุนี ให้มีตำแหน่งเป็นสังฆปาโมกข์เมืองภูเก็ต อันเป็นตำแหน่งสุงสุดซึ่งบรรพชิตจักพึงมีในสมัยนั้นในโอกาสเดียวกัน ทรงพระราชทานนามวัดฉลองเป็นวัดไชยาธาราราม

บารมีหลวงพ่อแช่ม
         จากคำบอกเล่าของคณะผู้ติดตามหลวงพ่อแช่มไปในครั้งนั้นแจ้งว่ามีพระสนมองค์หนึ่งในรัชกาลที่ 5 ป่วย เป็นอัมพาต หลวงพ่อแช่มได้ทำน้ำพระพุทธมนต์ให้รดตัวรักษา ปรากฏว่าอาการป่วยหายลงโดยเร็ว สามารถลุก นั่งได้ อนึ่ง การเดินทางไปและกลับจากจังหวัดภูเก็ตกับกรุงเทพมหานคร ผ่านวัดๆ หนึ่งในจังหวัดชุมพร หลวงพ่อแช่ม และคณะได้เข้าพักระหว่างทาง ณ ศาลาหน้าวัด เจ้าอาวาสวัดนั้น นิมนต์ให้ หลวงพ่อแช่มเข้าไป พักในวัด แต่ หลวงพ่อเกรงใจและแจ้งว่าตั้งใจจะพักที่ศาลาหน้าวัดแล้วก็ขอพักที่เดิมเถิด เจ้าอาวาสและชาวบ้าน ในละแวกนั้นบอกว่า การพักที่ศาลาหน้าวัดอันตรายอาจเกิดพวกโจร จะมาลักเอาสิ่งของของหลวงพ่อแช่มและ คณะไปหมดหลวงพ่อแช่มตอบว่าเมื่อมันเอาไปได้ มันก็คงเอามาคืนได้ เจ้าอาวาสวัดและชาวบ้านอ้อนวอน หลวงพ่อแช่มก็คงยืนยันขอพักที่เดิม  เล่าว่า ตกตอนดึกคืนนั้น โจรป่ารวม 6 คน เข้ามาล้อมศาลาไว้ ขณะคนอื่นๆ หลับหมดแล้ว คงเหลือแต่หลวงพ่อแช่มองค์เดียว พวกโจรเอื้อมเอาของไม่ถึง หลวงพ่อแช่มก็ช่วยผลักของให้ สิ่งของส่วนมากบรรจุปิ๊บใส่สาแหรก พวกโจรพอได้ของก็พากันขนเอาไป  รุ่งเช้าเจ้าอาวาสและชาวบ้านมาเยี่ยม ทราบเหตุที่เกิดขึ้นก็พากันไปตามกำนันนายบ้านมาเพื่อจะไปตาม พวกโจร หลวงพ่อแช่มก็ห้ามมิให้ตามไป ต่อมา ครู่หนึ่ง พวกโจรก็กลับมา แต่การกลับมาคราวนี้หัวหน้าโจรถูกหามกลับมาพร้อมกับสิ่งของซึ่งลักไปด้วย กำนัน นายบ้านก็เข้าคุมตัว หัวหน้าโจรปวดท้องจุดเสียดร้องครางโอดโอย ทราบว่าระหว่างที่ขนของซึ่งพวกตน ขโมย ไปนั้น คล้ายมีเสียงบอกว่า ให้ส่งของกลับไปเสีย มิฉะนั้น จะเกิดอาเพศ พวกโจรไม่เชื่อขนของต่อไปอีก หัวหน้าโจรจึงเกิดมีอาการจุกเสียดขึ้นจนไม่สามารถเดินทางต่อไปได้ เลยปรึกษากันตกลงขนสิ่งของ กลับมาคืน หลวงพ่อแช่มสั่งสอนว่า ต่อไปขอให้เลิกเป็นโจรอาการปวดก็หาย กำนันนายบ้านจะจับพวกโจรส่งกรมการเมือง ชุมพร แต่หลวงพ่อแช่มได้ขอร้องมิให้จับกุมขอให้ปล่อยตัวไป ไม่เพียงแต่ชนชาวไทยในภูเก็ตเท่านั้นที่มีความ เคารพเลื่อมใสในองค์หลวงพ่อแช่ม ชาวจังหวัดใกล้เคียงตลอดจนชาวจังหวัดต่างๆ ในมาเลเซีย เช่น ชาวจังหวัด ปีนัง เป็นต้นต่างให้ความคารพนับถือในองค์หลวงพ่อแช่มเป็นอย่างสูง โดยเฉพาะชาวพุทธในจังหวัดปีนัง ยกย่องหลวงพ่อแช่มเป็นเสมือนสังฆปาโมกข์เมืองปีนังด้วย
         ชาวเรือพวกหนึ่งลงเรือพายออกไปหาปลาในทะเลถูกคลื่น และพายุกระหน่ำจนเรือจวนล่มต่างก็บนบาน สิ่งศักดิ์ต่างๆ ให้คลื่นลมสงบ แต่คลื่นลมกลับรุนแรงขึ้น ชาวบ้านคนหนึ่งนึกถึงหลวงพ่อแช่มได้ ก็บนหลวงพ่อแช่ม ว่าขอให้หลวงพ่อแช่มบันดาลให้คลื่นลมสงบเถิด รอดตายกลับถึงบ้านจะติดทองที่ตัวหลวงพ่อแช่ม คลื่นลมก็สงบ มาถึงบ้านก็นำทองคำเปลวไปหาหลวงพ่อแช่ม เล่าให้หลวงพ่อแช่มทราบและขอปิดทองที่ตัวท่าน หลวงพ่อแช่ม บอกว่าท่านยังมีชีวิตอยู่จะปิดทองยังไง ให้ไปปิดทองที่พระพุทธรูป ชาวบ้านกลุ่มนั้นก็บอกว่าถ้าหาก หลวงพ่อ ไม่ให้ปิดหากแรงบนทำให้เกิดอาเพศอีก จะแก้อย่างไร ในที่สุดหลวงพ่อแช่มก็จำต้องยอมให้ชาวบ้าน ปิดทองที่ ตัวท่านโดยให้ปิดที่แขนและเท้า ชาวบ้านอื่นๆ ก็บนตามอย่างด้วยเป็นอันมาก พอหลวงพ่อแช่มออกจากวัด ไปทำ ธุระในเมือง ชาวบ้านต่างก็นำทองคำเปลวรอคอยปิดที่หน้าแขนของหลวงพ่อแทบทุกบ้านเรือน จนถือเป็น ธรรมเนียม
         เมื่อกรมพระยาดำรงราชานุภาพเสด็จมาจังหวัดภูเก็ตนิมนต์ให้หลวงพ่อแช่มไปหา ก็ยังทรงเห็นทองคำ เปลวปิดอยู่ท ี่หน้าแข้งของหลวงพ่อแช่ม นับเป็นพระภิกษุองค์แรกของเมืองไทยที่ได้รับการปิดทองแก้บนทั้งๆ ที่ยังมีชีวิตอยู่ แม้แต่ไม้เท้าของหลวงพ่อแช่ม ซึ่งท่านถือประจำกายก็มีความขลัง ประวัติความขลังของ ไม้เท้ามี ดังนี้ เด็กหญิงรุ่นสาวคนหนึ่ง เป็นคนชอบพูดอะไรแผลงๆ ครั้งหนึ่งเด็กหญิงคนนั้นเกิดปวดท้องจุดเสียดอย่างแรง กินยาอะไรก็ไม่ทุเลา จึงบนหลวงพ่อแช่มว่า ขอให้อาการปวดท้องหายเถิด ถ้าหายแล้วจะนำทอง ไปปิดที่ของลับ ของหลวงพ่อแช่ม อาการปวดท้องก็หายไป เด็กหญิงคนนั้นเมื่อหายแล้วก็ไม่สนใจ ถือว่าพูดเล่นสนุกๆ ต่อมา อาการปวดท้องเกิดขึ้นมาอีก พ่อแม่สงสัยจะถูกแรงสินบนจึงปลอบถามเด็ก เด็กก็เล่าให้พ่อแม่ฟัง พ่อแม่จึงนำเด็ก ไปหาหลวงพ่อแช่มหลวงพ่อแช่มกล่าวว่าลูกมึงบนสัปดนอย่างนี้ใครจะให้ปิดทองอย่างนั้นได้
         พ่อแม่เด็กต่างก็อ้อนวอนกลัวลูกจะตายเพราะไม่ได้แก้บน ในที่สุดหลวงพ่อแช่มคิดแก้ไข สถานการณ์ เฉพาะ หน้าได้โดยเอา ไม้เท้านั่งทับสอดเข้าให้เด็กหญิงคนนั้นปิดทองที่ปลายไม้เท้า กลับบ้านอาการปวดท้อง จุดเสียดก็หายไป ไม้เท้านั่งทับของหลวงพ่อแช่มอันนี้ยังคงมีอยู่ และใช้เป็นไม้สำหรับจี้เด็กๆ ที่เป็นไส้เลื่อน เป็นฝี เป็นปาน อาการเหล่านั้นก็หายไปหรือชงักการลุกลามต่อไป เป็นที่น่าประหลาด
         เมื่อมรณภาพ บรรดาศิษย์ได้ตรวจหาทรัพย์สินของหลวงพ่อแช่มปรากฏว่าหลวงพ่อแช่มมีเงินเหลือเพียง 50 เหรียญเท่านั้น ความทราบถึงบรรดาชาวบ้านปีนังและจังหวัดอื่นในมาเลเซีย ต่างก็นำเงิน เอาเครื่องอุปโภค บริโภคที่จำเป็น มีข้าวสาร มีคนมาช่วยเหลือหลายเรือสำเภา งานศพของหลวงพ่อแช่มจัดได้ใหญ่โตมโหฬารที่ สุดในจังหวัดภูเก็ต หรืออาจจะกล่าวได้ว่ามโหฬารที่สุดในภาคใต้ บารมีของหลวงพ่อแช่มก็มีมาจนกระทั่ง ปัจจุบันนี้
1. โดยรถยนต์ส่วนตัว
วัดฉลอง หรือ วัดไชยธาราราม อยู่ห่างจากตัวเมืองภูเก็ตประมาณ 8 กิโลเมตร ออกจากตัวเมืองไปตามทางหลวง หมายเลข 4021 ผ่านสามแยกบริเวณสนามกีฬาสุรกุล เลี้ยวซ้ายไปทางห้าแยกฉลอง วัดฉลองจะอยู่ทางซ้ายมือก่อนถึงห้าแยกฉลองประมาณ 4 กิโลเมตร
1. โดยรถประจำทาง
จากตัวเมืองภูเก็ตนั่งรถสองแถวสาย ภูเก็ต - อ่าวฉลอง

ขอบคุณข้อมูล
http://www.paiduaykan.com/province/south/phuket/watchalong.html

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...